การปลูกองุ่นในภาคอีสาน ไม่ยากอย่างที่คิด ลงมือทำเลย

การปลูกองุ่นในภาคอีสาน หลายๆ คนมีความคิดว่าอยากจะลองปลูกองุ่นดูซักครั้งแต่ไม่กล้าที่จะลองเพราะกลัวว่าพื้นที่ของตัวเองอยู่ในภาคอีสาน ไม่ต้องกลัวเพราะว่าต่อไปนี้ไม่ว่าพื้นที่ไหนก็จะสามารถปลูกองุ่นได้เหมือนกัน

การปลูกองุ่นในภาคอีสาน ไม่ยากอย่างที่คิด ลงมือทำเลย

ความรู้ องุ่น

องุ่น เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่คนส่วนมากนิยมปลูกกันมาก และเป็นผลไม้ที่มีรสชาติดีมาก เป็นผลไม้ที่ชอบเจริญเติบโตอยู่ในเขตหนาว เขตกึ่งร้อนกึ่งหนาว และยังสามารถเจริญเติบโตได้ในเขตร้อนอีกเช่นกัน องุ่นเป็นผลไม้ที่อยู่มาแล้วมากมายหลายปี แต่สำหรับจุดเริ่มต้นขององุ่นว่าเข้ามาอยู่ในประเทศไทยในช่วงไหนนั้น ยังไม่เป็นที่แน่ใจ แต่ในสมัยราชกาลที่ ๕ นั้น พระองค์ได้ทรงเสด็จไปต่างประเทศบ่อยๆ และเมื่อพระองค์ได้กลับมายังประเทศไทยได้ทรงนำพันธ์ไม้ชนิดต่างๆ เข้ามาปลูกในประเทศไทยด้วย จึงเป็นข้อสันนิฐานว่าในช่วงนั้นจะต้องมีองุ่นเข้าในประเทศไทย แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักมากเท่าไหร่นัก และได้ผ่านมาถึงราชกาลที่ ๗ ได้เริ่มมีการปลูกองุ่นให้เห็นแต่องุ่นในช่วงนั้นเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี๊ยวมากทำให้องุ่นไม่ได้รับการปลูกมากในช่วงนั้น และได้เริ่มหายไปอยู่ประมาณช่วงหนึ่ง จนถึงปี 2493 องุ่นเริ่มกลับมานิยมมากอีกครั้งโดยมี หลวงสมานวนกิจ ได้นำพันธ์ขององุ่นที่มาจาก แคลิฟอร์เนีย เข้ามาปลูกในประเทศไทยและต่อมาในปี 2497 ดร.พิศ ปัญญาลักษณ์ ได้นำพันธ์ขององุ่นที่ได้มาจากยุโรป มาปลูกและได้ผลเป็นที่น่าพอใจเพราะรสชาติขององุ่นนั้นหวาน และหลังจากนั้นองุ่นก็เริ่มขยายตัวออกไป คนทั่วไปเริ่มมีการปลูกเป็นจำนวนมาก 

การปลูก องุ่น

อง่นเป็นพืชที่ปลูกได้ทั้ง เขตที่เป็นหนาวและเขตร้อนหรือว่ากึ่งร้อนกึ่งหนาว ซึ่งภาคอีสานเป็นพื้นที่ที่มีทั้งร้อนและหนาว เราสามารถปลูกได้ เพียงแค่เราต้องมีเวลาในการดูแลพืชที่เราปลูกแค่นั้นเอง

เตรียมที่เพื่อปลูก

พื้นที่แต่ละแห่งนั้นไม่เหมือนกันการปลูกองุ่นนั้นจะต้องใช้พื้นที่ที่น้ำไม่สามารถท่วมถึงได้ หากว่าพื้นที่ที่เราต้องการจะปลูกนั้นเป็นที่ลุ่มเมื่อถึงเวลาฤดูฝนอาจจะทำให้น้ำท่วมได้ หากเราต้องการปลูกเราควรที่จะต้องมีการยกร่องขึ้นเพื่อไม่ให้น้ำท่วมถึงองุ่นที่เราปลูกได้ สำหรับพื้นที่ดอนสามารถปลูกได้

การปลูกแบบยกร่อง 

หากว่าเราปลูกด้วยวิธีการยกร่องเราควรที่จะใช่ความกว้างของแปลงในการปลูกที่ 6 เมตร และความยาวของร่องขึ้นอยู่กับความต้องการของเราและพื้นที่ของแปลงเรา แต่ละสำหรับความสูงของร่อง หากว่าที่ตรงนั้นเคยโดนน้ำท่วมเราควรที่จะยกขึ้นให้สุงกว่าน้ำท่วมประมาณ 50 เซนติเมตร และความกว้างของร่องมีขนาด 1.5 เมตร และความลึกของร่องมีขนาด 1 เมตร และความกว้างของก้นรองน้ำจะอยู่ที่ 0.5 – 0.7 เมตร การปลูกจะเป็นการปลูกแบบเป็นแถวเรียงกันตรงกลาง ส่วนระยะห่างควรใช้ 3 – 3.50 เมตร

การปลูกบนที่ดอน 

การปลูกบนที่ดอนเราควรที่จะไถ่ดินเพื่อกำจัดวัชพืชออกออกเพื่อไม่ให้วัชพืชแย่งอาหารของพืชเรา และไถ่เพื่อที่จะให้ดินร่วยซุย ทำให้ปลูกพืชได้ง่ายๆ ระยะห่างในการปลูก 3*4 – 3.50*5 เมตร

วิธีการปลูก

1. เริ่มต้นจากการขุดหลุมให้มีขนาดความกว้างและความลึกของหลุม ขนาด 50 เซนติเมตร

2. เป็นการนำปุ๋ยคอก ปุ๋ยฟอสเฟส ผสมกับดินที่มีอยู่ในหลุมให้เข้ากันและให้ได้ขนาดความสูงอยู่ที่ 2 ถึง 3 ส่วนของหลุม

3. เป็นการนำเอาต้นกล้าองุ่นลงไปในหลุม และที่สำคัญต้องให้ดินที่อยู่ในถุงสูงกว่าดินที่อยุ่ปากหลุม

4. ใช้มีดที่สามารถใช้งานได้และมีความคม เช่น คัดเตอร์ กรีดถุงกล้าองุ่น ตั้งแต่ด้านล่างก้นถุงขึ้นไปถึงด้านบนของถุง และทำเดียวกันในอีกด้านหนึ่งของถุงกล้าองุ่น 

5. ค่อยดึงเอาถุงพลาสติกออก และระวังอย่าให้ดินที่อยุ่ในถุงแตกเป้นอันขนาด

6. เอาดินที่เหลือกลบลงไปในหลุมให้พอดีกับดินปากหลุมเท่านั้น และกดดินบริเวณโคนต้นองุ่นให้แน่น

7. นำไม้มาเสียบลงดินเพื่อทำเป็นที่ยึด เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นไม้ล่มเวลามีลมพัดมา

8. ต่อไปก็จะเป็นการคลุมดินเพื่อเก็บความชื้น สามารถนำ หญ้าแห้ง หรือว่า ฟาง มาใช้ก็ได้

9. รดน้ำต้นไม้ให้พอดี

10. ทำร่มไม้เพื่อไม่ให้ต้นกล้าโดนแดดมากเกินไป

การปลูกองุ่นในภาคอีสาน ไม่ยากอย่างที่คิด ลงมือทำเลย

การทำค้าง องุ่น

การทำค้างต้นอง่น จะมีการทำค้างให้ก็ต่อเมื่อต้นองุ่นที่เราปลูกนั้นมีอายุครบ 1 ปี และการทำค้างขององุ่นจะมีอยุ่หลายวิธีมากและแต่ละที่จะทำค้างไม่เหมือนกัน แต่ที่เป็นที่นิยมก็จะเป็นการทำค้างแบบ เสาคู่แล้วก็จะใช้ลวดในการมัดทำค้าง

การทำค้างองุ่นแบบ เสาคู่แล้วใช้ลวดมัด

การทำเสาคู่จะมีให้เลือกอยุ่ 2 แบบ 

แบบที่ 1 จะเป็นเสาปูนซีเมนต์ จะเป็นเสาที่แข็งแรงทน และสามารถใช้งานได้เป็นเวลานาน แต่จุดเสียของเสาปูนก็คือ จะมีราคาแพง และ หนักมาก เวลาทำอาจจะต้องใช้แรงงานช่วยทำเป็นจำนวนมาก 

แบบที่ 2 จะเป็นการใช้เสาไม้ ควรที่จะใช้ไม้ที่มีขนาดหน้าอยู่ที่ 2*3 นิ้ว หรืออาจจะเป็น 2*4 นิ้ว และอาจจะใช้เสากลมหรือไม่กลมก้ได้ แต่ความสูงควรจะสูงประมาณ 2.5 ถึง 3 เมตร เป็นอย่างต่ำอาจจะยาวกว่านี้ก็ได้ เมื่อปักลงดินจะต้องเหลือไว้เหนือดิน 1.50 เมตร

การสร้างค้างและติดตั้งค้าง

เมื่อเรานำเอาเสาลงหลุมแล้วต้องเหลือไว้เหนือดิน 1.50 เมตร ให้ปักเป็นคู่ 2 อยู่ในแปลงเดียวกันโดยจะมีความห่างอยู่ที่ 2 เมตร และจะมีการติดค้าน ให้หัวไม้ยื่นออกมาข้างละ 50 เซนติเมตร การติดค้านควรจะให้น็อตเหล็กเป้นตัวยึดเพื่อความทนนาน แล้วทำการขึงลวด และลวดที่ใช้จะเป็นเบอร์ 11 หนักประมาณ 1 กิโลกรัม ยาวประมาณ 18 เมตร ขึงไปตามแนวความกว้างของแปลง และใช้ระยะห่างที่เท่าๆ กัน ที่สำคัญหัวแปลงและท้ายแปลงจะต้องใช้ไม้ที่มีขนาดใหญ่ในการทำค้าน เมื่อถึงท้ายแปลงเราจะตอกลวดลงดินควรจะต้องใช้ไม้ขนาดใหญ่ทับไว้ในดินให้แน่นและที่สำคัญลวดจะต้องตึงเพราเมื่อองุ่นมีการเจริญเติบโตจะทำให้มีขนาดหนักมากเมื่อรวมๆ กันแล้ว

และหากว่าเกษตรกรท่านใดที่กำลังเจอปัญหาแมลง เข้ามาทำร้ายพืช ผลไม้ของท่านเราควรที่จะจัดการกับแมลงพวกนั้นเพื่อไม่ให้ทำลาย พืชของเราโดยใช้ สารที่ได้จากธรรมชาติ ก็คือ น้ำส้มควันไม้ เกรดพรีเมี่ยม ฟาร์มเมอร์มีฝาทอง เป็นสารที่ได้จากธรรมชาติช่วยกำจัดพวกแมลงต่างๆ ไม่ให้เข้ามารบกวนพืชของเรา และช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับพืชของเราอีกด้วย

สรุป 

การปลูกองุ่นในภาคอีสาน ไม่ยากอย่างที่คิด เป็นพืชที่ปลูกได้ง่ายๆ แต่จะต้องรู้วิธีการปลูกอย่างชัดเจนและด้วยวิธีการปลูกที่ยุ่งยากมีการลงทุนหลายอย่างทำให้คนส่วนมากไม่ค่อยให้ความสนใจในการปลูกองุ่นแต่ว่าองุ่นเป้นพืชที่มีรสหวานสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรมาแล้วมากมาย

ถ้าคุณสนใจเรื่อง 4 เทคนิค การดูแลทุเรียนปลูกใหม่ สร้างรายได้จากการเกษตร  คลิก

ถ้าคุณสนใจเรื่อง ฟาร์มเมอร์มีฝาเขียว ปุ๋ยเร่งโต ที่ชาวเกษตรเลือกใช้ สร้างรายได้ตลอดทั้งปี คลิก

ถ้าคุณสนใจเรื่อง 5 ไม้ดอกไม้ประดับ ที่ควรปลูกในบ้าน คลิก 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สายพันธุ์ของเงาะ ลักษณะของเงาะ ผลไม้ที่สร้างรายให้เกษตรกร

น้ำส้มควันไม้ กับความมหัศจรรย์ประโยชน์ที่ใช้ได้กับสัตว์